ต้นยาสูบ

สมุนไพรยาสูบ

สมุนไพรยาสูบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยาซูล่ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ยาซุ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เกร๊อะหร่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ยาออก (ลั้วะ), สะตู้ (ปะหล่อง), จะวั้ว (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น

ชนิดของยาสูบ

ยาสูบที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ชนิด (species) ได้แก่ ชนิด Nicotiana tabacum (ที่กล่าวถึงในบทความนี้) ชนิดนี้มีพื้นที่ปลูกถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกยาสูบทั่วโลก นิยมนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหลาย[7] ชนิด Nicotiana rustica ชนิดนี้จะมีปริมาณของสารนิโคตินค่อนข้างสูง นำไปใช้ในการทำสารฆ่าแมลง ทำยาเคี้ยว และยาฉุน

ประโยชน์ของยาสูบ

ใบอ่อนจะนำมาใช้มวนบุหรี่และใช้ทำซิการ์[1] ใบแก่จะนำมาทำเป็นยาเส้นยาตั้ง ยาฉุน และใช้มวนบุหรี่[1] ชาวกะเหรี่ยงจะใช้ใบแก่นำมาซอยให้เป็นฝอยแล้วตากแห้ง พันด้วยใบตองแห้งใช้เป็นยาสูบ หรือใช้เป็นไส้บุหรี่ขี้โย[4] ในส่วนของยาตั้งนั้นหากนำมาผสมกับน้ำมันก๊าดแล้วนำมาใส่ผมก็จะเป็นยาฆ่าเหาได้ โดยให้ใส่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ให้ทำวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 2-3 วัน เหาก็จะหาย แต่ต้องระวังอย่าให้ยาเข้าตาได้ ใบมีสารนิโคตินอยู่ประมาณ 7% ละลายได้ง่ายในน้ำ แอลกอฮอล์ และอีเทอร์ ใช้ทำเป็นยาฉีดฆ่าแมลงและเพลี้ยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะจัดเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง (การผสมให้ใช้นิโคติน 1 ส่วน สบู่อ่อน 20 ส่วน ในน้ำ 2,000 ส่วน) ยานี้มีพิษแรง การนำมาใช้ต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกผิวหนัง เพราะจะซึมเข้าไปและเป็นพิษมาก[1],[2],[3] ใบใช้ทาภายนอกเพื่อป้องกันทากและปลิงเกาะได้ใบเอาไปใส่ไว้ในรังไก่ เพื่อช่วยไล่ไรไก่ หรือนำมาตำแล้วแช่ในน้ำ ใช้ฉีดพ่นไรไก่ (คนเมือง)[4] ใบนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาผิวหนังวัวควายที่เป็นหนอง (กะเหรี่ยงแดง)[4] ชาวอินเดียนพื้นเมืองถือว่ายาสูบเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีการสูบยาเป็นประเพณีเพื่อแสดงความเป็นมิตร และใบยาสูบเป็นของที่มีราคาที่ใช้แทนเงินได้อีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*
*

BACK TO TOP