เสาวรส

เสาวรส (กะทกรกฝรั่ง)

เสาวรส (กะทกรกฝรั่ง) เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ ผลมีลักษณะกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์ คือ สีม่วง สีเหลือง สีส้ม ซึ่งในบ้านเรานี้จะปลูกทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยในผลเสาวรสนั้นจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีกลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสออกเปรี้ยวจัด แต่บางสายพันธุ์จะมีรสออกอมหวานด้วย ประโยชน์ของเสาวรส เสาวรส ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยในการชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยในการบำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอรวมอยู่ด้วย น้ำเสาวรสช่วยให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น น้ำเสาวรสช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย มีวิตามินบี 2 ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม มีแคลเซียมซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและกระดูกหัก มีโพแทสเซียมสูง ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส ด้วยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง มีแมกนีเซียม ซึ่งช่วยในการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง นิยมนำมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวม ข้อแนะนำและข้อควรระวัง 

ลูกเดือย

ลูกเดือย

ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับข้าว เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เพาะปลูกมากแถวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเส้นใยอาหารสูง มีลักษณะของต้นคล้ายต้นข้าวโพด ลักษณะของเม็ดจะเป็นสีขาว ออกกลม ๆ รี ๆ รสชาติออกมันเล็กน้อย ลูกเดือยมีทั้งที่กินได้และกินไม่ได้ ชนิดที่กินได้นั้นจะมีเปลือกผลอ่อนซึ่งเรียกว่าเดือยกิน ปลูกไว้เพื่อใช้ทำเป็นอาหารและยา  สรรพคุณของลูกเดือย เป็นอาหารบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เหมาะกับผู้ป่วยในช่วงพักฟื้น เด็ก และผู้สูงวัย ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงสมอง ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยแก้ร้อนใน ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยบำรุงเลือดลมให้สตรีหลังคลอดบุตร ประโยชน์ของลูกเดือย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้นผมให้เจริญเติบโตดีขึ้น เพิ่มการไหลเวียนของเลือกที่ผิวหนังให้ดีขึ้น นำมาใช้ทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน โดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีแป้งและน้ำเป็นส่วนผสม มีการนำไปแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยเปียก เต้าทึง น้ำลูกเดือย

มะอึก,ต้นมะอึก,ใบมะอึก

มะอึก

มะอึก เป็นพืชสวนครัวที่นิยมรับประทานและมีการเพาะปลูกอย่างแพร่หลายทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักไม่นิยมปลูกเพื่อเป็นการค้าสักเท่าไหร่ จึงไม่พบเห็นได้บ่อยเท่ามะแว้งและมะเขือพวง จึงอาจกล่าวได้ว่ามะอึกเป็นมะเขือป่าที่เป็นลูกครึ่งอยู่ระหว่างมะเขือพวงกับมะแว้งนั่นเอง โดยเราจะนิยมใช้ผลแก่หรือผลสุกเต็มที่รับประทานเป็นผักแกล้มหรือจิ้มกับน้ำพริกต่าง ๆ ให้รสชาติเฝื่อนเล็กน้อยอร่อยมาก หรือจะใช้เปลือกผลเอาเมล็ดทิ้งแล้วหั่นเป็นฝอย ๆ ใช้โขลกรวมกับน้ำพริกกะปิเพื่อเพิ่มรสชาติก็ดีไม่น้อย หรือจะหั่นเป็นชิ้นทั้งเมล็ดใส่รวมกับส้มตำก็ได้เหมือนกัน สรรพคุณของมะอึก รากมะอึกมีรสเย็นและเปรี้ยวเล็กน้อย ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ราก) ช่วยกัดเสมหะ ขับฟอกเสมหะในลำคอ (ผล) ช่วยลดไข้ แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้ไข้สันนิบาต (ราก) ช่วยแก้อาการไอ (ผล) ช่วยแก้น้ำลายเหนียว (ราก) ช่วยแก้ปอดบวม (ใบ) ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้เมล็ดนำมาเผาแล้วสูดดมควันเข้าไป (เมล็ด) ขนของผลมะอึกสามารถนำมาทอดกับไข่เพื่อช่วยขับพยาธิได้ (ขน) รากช่วยแก้ปวด (ราก) ช่วยแก้ดีพิการ แก้โทษเพื่อน้ำดี (ผล) รากแก้น้ำดีพิการ (ราก) ช่วยแก้ดีฝ่อ ดีกระตุก หรืออาการนอนสะดุ้ง ผวา เพ้อ ชนิดหลับ ๆ ตื่น ๆ ซึ่งสาเหตุมาจากโทษน้ำดีกระทำ (ราก) ใบใช้เป็นยาพอก แก้อาการคัน

ใบย่านาง

ใบย่านาง

ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น สรรพคุณใบย่านาง ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต วิธีทำน้ำใบย่านาง อย่างแรกคือการเตรียมส่วนประกอบ คือ ใบย่านาง 10-20 ใบ (ตามความเข้มข้นที่ต้องการ)

มะพร้าว

มะพร้าว

สมุนไพรมะพร้าว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดุง (จันทบุรี), โพล (กาญจนบุรี), คอส่า (แม่ฮ่องสอน), เอี่ยจี้ (จีน), หมากอุ๋น หมากอูน (ทั่วไป) เป็นต้น มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นที่จัดอยู่ในตระกูลปาล์ม ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ผลประกอบไปด้วยเปลือกนอก ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว และชั้นสุดท้ายคือเนื้อมะพร้าว ซึ่งภายในจะมีน้ำมะพร้าว ถ้าลูกมะพร้าวแก่มาก เนื้อมะพร้าวจะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด สำหรับสถิติการผลิตมะพร้าว ประเทศอินโดนีเซียคืออันดับ 1 ของโลกที่ผลิตมะพร้าวได้มากที่สุด ส่วนประเทศไทยจะอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก และรายชื่อพันธุ์มะพร้าวต่าง ๆ ก็ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวไฟ มะพร้าวซอ มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย สรรพคุณของมะพร้าว น้ำมะพร้าวช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ขาวนวลขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ (น้ำมะพร้าว) ยอดอ่อนมะพร้าว น้ำมะพร้าวมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น กระชับ ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว) ประโยชน์ของน้ำมะพร้าว

มะนาว

มะนาว

มะนาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) หลายคนสงสัยว่า แล้วคำว่า Lemon ที่ในบ้านเราเข้าใจว่ามันคือมะนาว แล้วตกลงมันคืออะไร จริง ๆ แล้วเลมอน (Lemon) ความหมายที่ถูกต้องของมันก็คือ ผลส้มชนิดหนึ่งที่มีหัวท้ายมนหรือมะนาวที่มีผลเป็นลูกออกสีเหลืองใหญ่ ไม่ใช่ผลกลม ๆ สีเขียวลูกเล็ก ๆ อย่างมะนาวที่เราคุ้นเคย การปลูกมะนาว เดิมแล้วมะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคนี้จีงรู้จักการใช้ประโยชน์จากมะนาวกันเป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยนี่เอง เรามาดูประโยชน์และสรรพคุณของมะนาวกันดีกว่า สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน เป็นลมวิงเวียนศีรษะ เมาเหล้าได้ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ รู้หรือไม่ว่ามะนาวก็เป็นยาอายุวัฒนะและช่วยในการเจริญอาหารได้ด้วย แก้อาการวิงเวียนหลังคลอดบุตร แก้อาการลมเงียบ ด้วยการเอาใบมะนาวมาต้มกินกับยาหอม แก้โรคตาแดง ใช้เป็นยาแก้ไข้ก็ได้เหมือกัน ด้วยการนำใบมาหั่นเป็นฝอย ๆ แล้วนำมาชงในน้ำเดือด ดื่มเป็นน้ำชาหรือใช้อมกลั้วคอเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค ใช้ในการแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาใบมะนาวประมาณ 100 ใบมาต้มกิน สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไรฟันได้ เพราะในมะนาวมีวิตามินซีสูงมาก มะนาวช่วยในการขับเสมหะ ช่วยแก้ไอหรืออาการไอที่มีเลือดปนออกมา ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ดีในระดับหนึ่ง ช่วยบรรเทาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ

ใบยี่หร่า

สมุนไพรยี่หร่า 

สมุนไพรยี่หร่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยี่หร่า กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง กะเพราควาย (ภาคกลาง), หร่า (ภาคใต้) เป็นต้น ทำความเข้าใจกันสักนิด ! หากพูดถึงยี่หร่า ตามพจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองเมืองไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม) ระบุไว้ว่า ยี่หร่าจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรกก็คือ ยี่หร่าชนิดที่มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “เทียนขาว” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuminum cyminum L. และจัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE) มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ก็คือผลแห้งที่เรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม (ไม่ใช่ยี่หร่าที่กินใบครับ) ชนิดที่สอง ยี่หร่าชนิดที่มีชื่อไทยหลายชื่อ เช่น จันทร์หอม เนียมต้น เนียม กะเพราญวน โหระพาช้าง เป็นต้น ซึ่งชื่อภาษาอังกฤษก็คือ

ผลพะยอม

ต้นพะยอม (ต้นพยอม)

ต้นพะยอม (ต้นพยอม) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60-1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย สรรพคุณของพะยอม พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก) สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก) ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก) สรรพคุณต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น) เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ (เปลือกต้น) เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น) สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล

พุทราจีน

ต้นพุทราจีน

ต้นพุทราจีน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีหนาม ในผลมีเมล็ดเดียว ผิวเรียบ เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลืองหรือบางสายพันธุ์จะเป็นสีแดงเข้ม ส่วนสายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์พื้นเมือง แบ่งออกเป็นพันธุ์ลูกเกดและพันธุ์ไข่เต่า ผลมีลักษณะรีหรือกลมแป้น เปลือกผลบาง เนื้อหยาบมีสีเหลือง รสชาติเปรี้ยวและฝาดอมหวาน พันธุ์สามรส ผลมีลักษณะกลมแป้น เปลือกบาง เนื้อละเอียดมีสีขาวกรอบ พันธุ์เจดีย์หรือพันธุ์ปากน้ำ เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์อินเดีย มีต้นกำเนิดในจังหวัดสมุทรปราการ พันธุ์บอมเบย์ ผลมีลักษณะยาวรี เปลือกบางเป็นมัน เนื้อละเอียดมีสีหลือง รสชาติหวานกรอบ พันธุ์เหรียญทอง ผลมีลักษณะคล้ายแอปเปิ้ล มีเปลือกหนา ผิวหยาบ เนื้อละเอียดมีสีขาว มีรสหวานกรอบ และมีกลิ่นหอม พันธุ์แอปเปิ้ล ผลมีลักษณะกลมแป้น เปลือกหนาใสสีเขียวเข้ม เนื้อมีสีขาว กรอบละเอียด มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว พันธุ์สาลี่หรือพันธุ์บอมเบย์ยักษ์ ผลมีลักษณะคล้ายสาลี่และมีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เปลือกผลบาง ผิวเหลือง เนื้อในค่อนข้างหยาบมีสีเหลือง เนื้อมาก มีรสหวานกรอบ สรรพคุณของพุทราจีน ผลมีรสหวานมันและฝาด ช่วยบำรุงร่างกาย (ผล) ผลช่วยบำรุงกำลัง หรือสำหรับคนที่ผอมแห้งแรงน้อยหากรับประทานผลพุทราจะช่วยทำให้มีเรี่ยวแรงมากขึ้น (ผล) พุทราจีนอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย

ดอกแพงพวยน้ำ

ต้นแพงพวยน้ำ

ต้นแพงพวยน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค โดยจัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยหรือไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีลำต้นทอดยาวไปตามผิวน้ำหรือบนดินเหลว มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร ลำต้นไม่มีขนปกคลุม ลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ลักษณะอวบน้ำ เป็นรูปกลม เป็นข้อปุ่ม ตามข้อของลำต้นจะมีรากแก้วเป็นฝอยและมีปุ่มที่ช่วยในการพยุงตัว ทำให้สามารถลอยน้ำได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการแยกลำต้นปลูก มักขึ้นบนดินโคลนตามข้างทาง ทุ่งนา หรือตามห้วย หนอง คลองบึงต่าง ๆ (ในช่วงที่น้ำในนาและหนองบึงแห้งแล้ง ต้นแพงพวยน้ําก็ยังคงอยู่ได้ แม้ต้นจะแคระแกร็นและแข็ง นับว่าเป็นต้นไม้ที่มีความทนทานมากชนิดหนึ่ง) ข้อแนะนำและข้อควรระวัง  ในการใช้แพงพวยน้ำ เป็นยาสมุนไพรควรคำนึงถึงความปลอดภัย และความระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำ ก่อนจะใช้แพงพวยน้ำเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ ประโยชน์ของแพงพวยน้ำ ยอดอ่อน ใบอ่อน และลำต้นอ่อนของแพงพวยน้ํา นำมาลวกให้สุกแล้วนำมาทำยำ จิ้มกินกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้ เช่น แกงส้ม ฯลฯ โดยคุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยพลังงาน 38

BACK TO TOP